วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ



"แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ"


ตุลา มหาพสุธานนท์ (2547, หน้า 213-214) ได้นำแนวคิดของ Adler เกี่ยวกับ

บุคลิกภาพ ซึ่งคนเราทุกคนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

ดังนี้

1. บุคลิกภาพแบบเดินตามกฎ (the ruling types) เป็น

บุคลิกภาพที่ไม่สนใจผู้อื่นมีความต้องการควบคุมคนอื่นเพื่อตนจะได้มีความรู้สึกว่า เป็นคน

สำคัญและมีอำนาจ มักมีลักษณะเอาแต่ใจตนเองและกล้าที่จะทำร้ายทั้งจิตใจและร่างกาย

ของผู้อื่น วิธีการที่ใช้ในการควบคุมมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การใช้เงิน รางวัล ค่าจ้าง หรือ

กำลังในการควบคุมผู้อื่น

2. บุคลิกภาพแบบเฉื่อยชา (the getting type) เป็นบุคคลที่ค่อนข้างเฉื่อยชาในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของ

ตนเอง บุคคลเหล่านี้จะคอยพึ่งพิงผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ไม่รู้ว่าตนเองจะสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จเหมือนผู้อื่นหรือไม่

บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มักชอบอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ตอบสนองคำร้องขอของตนเอง รวมทั้งมักใช้ความอ่อนหวานออดอ้อนขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

3. บุคลิกภาพแบบหลีกเลี่ยง (the avoiding types) เป็นบุคคลที่ขาดความเชื่อมั่น

ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยแทนที่จะเผชิญกับปัญหา บุคคลเหล่านี้จะหลีกหนีหรือหลบ

เลี่ยงปัญหา เพื่อช่วยให้ตนไม่เกินความรู้สึกพ่ายแพ้ในเวลาที่ประสบความล้มเหลวในการ

แก้ปัญหา บุคคลเหล่านี้มักใช้วิธีการสร้างฝัน จินตนาการว่าตนเป็นผู้ที่มีความสามารถ มี

ความโดดเด่นในสังคมเพื่อลดความรู้สึกด้อยของตนเอง

4. บุคลิกภาพแบบมีประโยชน์ (the socially useful types) เป็นผู้ที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีสมาชิกของครอบครัวคอยให้

ความช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีการปฏิบัติต่อกันด้วยความยกย่องและเห็นอกเห็นใจกัน ทำให้บุคคลเหล่านี้มีความเชื่อมั่นและมีความ

สามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง และให้ความร่วมมือในการทำงานกับบุคคลอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี

ตุลา มหาพสุธานนท์ (2547, หน้า 214-215) ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพของRobbins&Coulter ไว้ว่าตัวแบบของบุคลิกภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้คือ “The big model of personality” ซึ่งแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. บุคลิกภาพแบบเปิดตัว (extraversion) เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่มักชอบสังสรรค์สมาคมกับบุคคลรอบข้าง คุยเก่ง มนุษย์สัมพันธ์ดี

และมีการแสดงออกที่เหมาะสม (assertive behavior) ในสังคม สอดคล้องกับ Hans J. Eysenck (อ้างถึงในศรีเรือน

แก้วกังวาล ,2551, หน้า 257 ) ที่ว่าบุคลิกภาพแบบเปิดตัวหรือแสดงตัว เป็นลักษณะบุคลิกภาพที่ชอบสังสรรค์กับคน ช่างพูด ตอบโต้ ง่าย ๆ

เป็นกันเอง และมีลักษณะเป็นผู้นำ

2. บุคลิกภาพแบบน่าคบ (agreeableness) เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่ดูดีตามธรรมชาติ น่าให้ความร่วมมือ และเป็นบุคคลที่น่าเชื่อใจ

3. บุคลิกภาพแบบรอบคอบระมัดระวัง (conscientiousness) เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความรับผิดชอบ อยู่ได้ด้วยตนเอง ดื้อ

รั้น และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

4. บุคลิกภาพแบบมั่นคงทางอารมณ์ (emotional stability) เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงออกทางบวกหรือลบ ทางบวก เช่น

บุคลิกภาพมั่นคงทางอารมณ์แบบเงียบสงบ กระตือรือร้น มั่นคง ทางลบ เช่น บุคลิกภาพมั่นคงทางอารมณ์แบบเครียด กังวลใจ และหดหู่

5. บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง (openness to experience) เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่เปี่ยมด้วยจินตนาการ มีความอ่อนไหว

งดงาม และฉลาด

ตัวแบบบุคลิกภาพทั้ง 5 แบบนี้ใช้เป็นกรอบในการมองบุคคลได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับ

การปฏิบัติงาน ของบุคคล เช่นบุคลิกภาพแบบรอบคอบ ระมัดระวัง (conscientiousness) สามารถทำนายผลการปฏิบัติงานใน

อาชีพวิศวกร สถาปนิก ทนายความ ตำรวจ ผู้บริหาร พนักงานขาย และบุคลิกภาพยังเป็นตัวทำนายผลการเรียนรู้ของบุคคลได้เป็นอย่างดี การเรียนรู้ที่

รวดเร็วและเข้าใจได้ก่อนคนอื่น แสดงถึงการที่มีบุคลิกภาพที่รอบคอบ มีความคิดเป็นระบบ ส่งผลให้บุคคลนั้น มีพัฒนาการที่รวดเร็วกว่าคนรอบข้าง

จนสามารถสรุปได้ว่าพัฒนาการของบุคคลต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยใช้บุคลิกภาพเป็นแบบอย่าง


ตุลา มหาพสุธานนท์ (2547, หน้า 215) ยังได้นำแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพของJung ที่อธิบายถึงบุคลิกภาพของมนุษย์ในส่วนของ

การมองโลกและการปฏิสัมพันธ์กับสังคม โดยแบ่งบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. บุคลิกภาพแบบเปิดตัว (extroversion) เป็นบุคคลที่เน้นปัจจัยภายนอกร่างกาย มุ่งสนใจสิ่งภายนอก เป็นผู้ที่ชอบสังคม มีความกระตือ

รือร้นที่จะติดต่อและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น กล้าพูด กล้าแสดงออก สอดคล้องกับสมพร สุทัศนีย์ (2544, หน้า 78) ได้แบ่งบุคลิกภาพ

ประเภทแสดงตัวไว้ว่า บุคคลประเภทนี้ชอบเข้าสังคม ชอบพบปะพูดคุยกับผู้อื่น เป็นคนเปิดเผย ร่าเริง แจ่มใส บุคคลประเภทนี้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี แต่มี

ข้อเสีย คือ เป็นคนพูดมาก เก็บความลับไม่อยู่

2. บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (introversion) เป็นบุคคลที่สนใจในความคิดและความรู้สึกของตนหมกมุ่นอยู่กับความคิดและความรู้สึกของ

ตน ไม่สนใจสังคมภายนอก ไม่ชอบสังคม เป็นคนค่อนข้างเงียบ และไม่ชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือไม่ชอบแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน สอดคล้องกับ

สมพร สุทัศนีย์ (2544, หน้า 78) ซึ่งได้นำเสนอบุคลิกภาพประเภทเก็บตัวไว้ว่า บุคคลประเภทเก็บตัว เป็นบุคคลที่ไม่ชอบสังคม เมื่อมีปัญหา

จะแยกตัวออกจากสังคม เป็นคนไม่ชอบพูด นอกจากนี้ยังตัดสินใจช้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเองมนุษย์ทุกคนไม่มีใครที่มีบุคลิกภาพแบบเพียงอย่าง

เดียว ทุกคนจะมีสองลักษณะอยู่ในตนเอง เพียงแต่ว่าลักษณะใดเด่นกว่ากัน เปรียบได้กับ Gene ที่เกิดจากการผสมของโครโมโซมในร่างกายมนุษย์

จะปรากฏส่วนที่โดดเด่นให้เห็นชัดเจน เช่น พฤติกรรมการแสดงออกจะสอดคล้องกับลักษณะของบุคลิกภาพที่เป็นตัวตนของบุคคลนั้น ๆ


สมพร สุทัศนีย์ (2544, หน้า 79-82) ยังได้นำเสนอแนวคิดของ Black and Mouton เกี่ยวกับการแบ่งบุคลิกภาพของบุคคลออกตามรูปแบบของพฤติกรรมการบริหาร ได้ 5 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทไม่เอาไหน (impoverished) สัญลักษณ์ของคนประเภทนี้ คือ เต่า บุคคลประเภทนี้จึงไม่กล้าเผชิญปัญหา ขาดความคิดริเริ่ม

สร้างสรรค์ ยอมตามผู้อื่น

2. ประเภทยอมตาม (country club manager) สัญลักษณ์ของคนประเภทนี้ ตุ๊กตาหมี เป็นบุคคลที่ยอมผู้อื่นโดยไม่มีเงื่อนไข

ยอมให้คนอื่นกอดรัดฟัดเหวี่ยงได้ตามใจ บุคคลประเภทนี้จะให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจโดยไม่ปริปากบ่น มีความเสียสละ มักจะยอมให้คนอื่น ทำ

สิ่งต่าง ๆ ก่อนเสมอ มองโลกในแง่ดี

3. ประเภทชอบใช้อำนาจ (authoritarian) สัญลักษณ์ของคนประเภทนี้ คือ ฉลาม ธรรมชาติของฉลามคือดุร้าย บุคคลประเภทนี้จึงมี

พฤติกรรมก้าวร้าว ดุร้าย ชอบใช้อำนาจในการแก้ปัญหาโดยไม่คำนึงความรู้สึกของผู้อื่น เน้นความต้องการของตนเอง มักแก้ปัญหาด้วยการเผชิญหน้า

การแก้ปัญหานำไปสู่การต่อสู้และทำร้าย

4. ประเภทกลาง ๆ (mediocre) สัญลักษณ์ของคนประเภทนี้ คือ สุนัขจิ้งจอก เป็นบุคคลที่ไม่ยอมเสียเปรียบใคร แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย

วิธีประนีประนอม เช่น แบ่งคนละครึ่งเพราะการแบ่งคนละครึ่งย่อมทำให้อีกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่ การแก้ปัญหามักจะเป็นไปในลักษณะแก้

ปัญหาเฉพาะหน้า เอาตัวรอด ขาดความจริงใจ

5. ประเภทใจเย็น (team manager) สัญลักษณ์ของคนประเภทนี้ คือ นกฮูก เป็นบุคคลที่ใจเย็น เพราะนกฮูกไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อ

มนุษย์ แต่จะชอบแอบดูลับหลังเหมือนการตื่นในเวลากลางคืน บุคคลประเภทนี้จงพยายามศึกษาความต้องการของผู้อื่นและความต้องการของตนเอง

วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งคือ ควบคุมอารมณ์ รับฟังด้วยความเข้าใจ พูดจาไพเราะ ขอความเห็น แสดงความเห็น แสวงหาทางเลือกในการแก้

ปัญหาหลาย ๆ ทาง และแก้ปัญหาด้วยการสนองความต้องการของตนเองและของผู้อื่น


นอกจากนี้ สมพร สุทัศนีย์ (2544, หน้า 80) ยังได้นำแนวคิดของประสพ รัตนากร เกี่ยวกับบุคลิกภาพของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ประเภท

ที่ให้ความคิดเห็นว่า

1. ประเภทปัญญาชน คนประเภทนี้มักจะใช้สติปัญญาเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรม ทำอะไรก็ต้องไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล

2. ประเภทปากเป็นเอก คนประเภทนี้ชอบใช้วาจาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ หรือสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น

3. ประเภทถืออำนาจเป็นใหญ่ คนประเภทนี้ชอบใช้อำนาจวางโต หรือแฝงไว้ด้วยอำนาจ

4. ประเภทที่รู้จักและเข้าใจตนเอง คือ ประเภทที่รู้จักฐานะของตนเองว่าเป็นใครมีความสำคัญอย่างไร

5. ประเภทที่มีความอดทน คนประเภทนี้จะมีความอดทน อดกลั้น

6. ประเภทเจ้าอารมณ์ คนประเภทนี้ใช้อารมณ์เป็นใหญ่ มีอารมณ์รุนแรง ถ้ารักก็รักมาก ถ้าเกลียดก็เกลียดมาก เป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้น

7. ประเภทที่ยึดระเบียบกฎเกณฑ์ คนประเภทนี้นอกจากจะยึดระเบียบกฎเกณฑ์แล้ว ยังเป็นประเภทเถรตรง

8. ประเภทยึดถือสังคม คนประเภทนี้ชอบทำตามสังคม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ตามสังคม นิยมใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องสำอาง เสื้อผ้าตาม

แฟชั่น ตามสังคม

นอกจากนี้มีการจำแนกบุคคลในวงการสมาคมตามพฤติกรรมที่แสดงออกเป็น 4 ประเภท โดยสมพร สุทัศนีย์ (2544, หน้า 81) ได้กล่าวถึง

แนวคิดของธรรมรส โชติกุญชร ดังนี้

1. พวกที่ชอบใช้อำนาจเหนือผู้อื่น (dominant) คนพวกนี้ชอบทำตัวเหนือผู้อื่น ชอบเป็นผู้นำ อยากมีชื่อเสียงเด่นในสังคม

2. พวกยอมจำนน (submissive) คนพวกนี้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ว่านอนสอนง่ายยอมเสียเปรียบผู้อื่น ผ่อนปรน ใครว่าอะไรก็ว่าตาม

มักตกเป็นเบี้ยล่างผู้อื่นเสมอ ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง

3. พวกประนีประนอม (compromise) เมื่อเข้าสมาคมคนพวกนี้ชอบแสดงพฤติกรรมแบบไปขอที มีลักษณะออมชอม ไม่เคร่งครัด

ระเบียบ

4. พวกบูรณาการ (intergration) พวกนี้มีจิตใจโอบอ้อมอารี รักพวกพ้อง

มุกดา ศรียงค์ (2539, หน้า 13-14)ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพของ Richard Coan ไว้ว่า บุคลิกภาพที่สมบูรณ์ หมายถึง

บุคคลที่ได้พัฒนาตนเองถึงระดับสูงที่สุด วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านบุคลิกภาพที่สมบูรณ์คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยการศึกษา

ตัวแปรเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่สมบูรณ์จากตัวแปร 135 ตัว เขาสรุปได้ว่าวิธีการที่คนเราจะเป็นบุคคลสมบูรณ์ได้นั้นมี 5 วิธีด้วยกัน ดังนี้

1. ประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีอิสระในการทำงาน

2. ความคิดสร้างสรรค์ กล้าเผชิญกับสิ่งเก่า ๆ ยอมรับความแปลกใหม่และการไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม ชอบสร้างแนวชีวิตใหม่

3. มีความผสมกลมกลืนภายในตนเอง รักตนเอง มีความต้องการเป็นตัวของตัวเอง ชอบสันโดษ

4. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความเมตตา กรุณา พร้อมเสมอที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นเมื่อเขาต้องการ

5. มีความสามารถในการควบคุมจิตใจได้เหนือกว่าคนทั่ว ๆ ไป มีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และติดต่อสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติได้

มยุรี เจริญทรัพย์ และคณะ (2550, หน้า131-132) ได้นำเสนอทฤษฎีจิตวิทยาส่วนบุคคล (theory of individual psychology) ของ Alfred Adler ถึงสาเหตุที่ทุกคนต้องต่อสู้ดิ้นรนให้หลุดพ้นจากปมด้อย เพื่อให้เท่าเทียมกับคนอื่น ซึ่งมีแนวคิดที่สำคัญดังนี้

1. ความมุ่งมั่นในอนาคต (fictional finalist) หมายถึง การที่มนุษย์ถูกจูงใจให้มีพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพ ตามความคาดหวังใน

อนาคตมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต

2. การดิ้นรนเพื่อยกระดับของตน (striving for superiority) ได้แก่ ความพยายามที่จะให้ตนเองดีกว่าเหนือกว่าที่เป็นอยู่ใน

ปัจจุบัน ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีมาแต่กำเนิด ความรู้สึกนี้เป็นแรงขับสำคัญที่ช่วยยกระดับพัฒนาการให้เกิดขึ้น

3. การชดเชยปมด้อยของตนเอง (inferiority feeling and compensation) ความรู้สึกมีปมด้อยเป็นลักษณะ

ธรรมดาของมนุษย์ เป็นส่วนช่วยให้มีการปรับปรุงแก้ไขตนเองให้พ้นภาวะนี้

4. ความสนใจในสังคม (social interest) ความสนใจนี้มีมาแต่กำเนิด ถ้าเด็กได้รับความรัก มักสนใจคนอื่นในแง่ดี ความรู้สึกเห็นแก่ตัว

จะลดลง เกิดความรักความเข้าใจในบุคคลอื่น

5. แบบแผนของชีวิต (style of life) บุคคลจะเริ่มมีแบบแผนของตนเองตั้งแต่อายุ 4- 5 ขวบ ประสบการณ์ต่าง และสิ่งแวดล้อมจะ

ช่วยทำให้แบบแผนของชีวิตเป็นไปตามนั้น

6. การสร้างความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง (creative self) แนวทางการสร้างความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง จะแสดงให้เห็นแบบแผนชีวิตของ

บุคคลนั้น และแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของแบบแผนชีวิตของเขา

บุคลิกภาพ เป็นลักษณะของแต่ละบุคคล เป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัย พฤติกรรม การแสดงออกทั้งภายในและภายนอกจิตใจ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีลักษณะเช่นใด การแสดงออกอย่างเป็นตัวตนที่แท้จริง จะแสดงออกมา เมื่ออารมณ์ ประสบการณ์ของบุคคลนั้น อยู่ในสังคมที่ดี การแสดงออกทางสังคมหรือการเลี้ยงดูก็เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม กำหนดบุคลิกภาพได้เช่นกัน บุคลิกภาพจะช่วยให้บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กันในทางที่ดี เมื่อบุคคลนั้นมีการแสดงออกทางพฤติกรรมที่มั่นคง การแสดงออกทางพฤติกรรมของนักศึกษาในโรงเรียนหรือในสถาบันต่าง ๆ นักศึกษาเป็นบุคคลที่อยู่ในวัยรุ่น การแสดงออกทางบุคลิกภาพ มักแสดงออกอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ที่รุนแรง การแสดงออกจึงใช้อารมณ์เป็นหลัก หากมีการเรียนรู้ และส่งเสริมในทางที่ถูกต้อง นักศึกษาจะเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่สนใจการเรียน ค้นหาความรู้เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี หรือไอทีต่าง ๆ เพื่อให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ และสามารถอยู่ในกลุ่มเพื่อนได้ อีกทั้งเป็นการพัฒนาตนเองอย่างไม่รู้ตัว การที่บุคคลมีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์แล้ว ย่อมเป็นที่ยอมรับของสังคมอันจะส่งผลให้บุคคลนั้นมีการปรับตัวเข้าสู่สังคมอย่างราบรื่นและมีความสุข ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตต่อไป

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ

มยุรี เจริญทรัพย์ และคณะ (2550, หน้า 127) ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ ของศาสตราจารย์ดร. จรรยา สุวรรณทัต รองศาสตราจารย์ดร. ดวงเดือน พันธุมนาวิน และอาจารย์เพ็ญแข

ประจนปัจนึก ซึ่งได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ว่ามี 3 ประเภทด้วยกัน

1. พันธุกรรม (heredity) หมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ของบรรพบุรุษ ซึ่งถ่ายทอด

มายังลูกหลานรุ่นต่อ ๆ มาด้วยวิธีการสืบพันธุ์ อิทธิพลของพันธุกรรมที่ปรากฏจะเห็นได้ชัดมาก ลักษณะทางร่างกาย เช่น รูปร่าง หน้า เพศ สีผม สีของดวงตา สีผิว ลักษณะโครงกระดูก นอกจากนี้ ยังมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาตอบโต้พื้นฐานของแต่ละบุคคล เช่น ระดับความไวในการตอบโต้ การรับรู้

2. สิ่งแวดล้อม (environment) หมายถึง สภาพภายนอกซึ่งแยกออกจากตัวบุคคล

เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลในการเสริมสร้างบุคลิกภาพของบุคคล สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพอันดับแรก ได้แก่ บ้าน การอบรมเลี้ยงดู จะช่วยปูพื้นฐานบุคลิกภาพ เช่น เวลาหนาวมีคนห่มผ้าให้ ได้รับความรักเต็มที่ เด็กจะเกิดพัฒนาความรู้สึกไว้วางใจ มีทัศนคติที่ดีต่อคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อมต่อมาที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างบุคลิกภาพ ได้แก่ โรงเรียน เพื่อน ครู สังคม วัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อต่าง ๆ

3. ช่วงเวลาในชีวิตของแต่ละบุคคล แสดงถึงระดับพัฒนาการทางร่างกายและ

จิตใจ อันเกิดจากอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก

ลักษณะบุคลิกภาพจะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล เช่น วัยทารก จะเป็นวัยที่เพาะลักษณะนิสัยความไว้วางใจ ซึ่งเป็นลักษณะบุคลิกภาพอันถาวรของบุคคลตลอดไป

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ สามารถสรุปได้ว่า มีปัจจัยทั้ง

พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อบุคลิกภาพ อีกทั้งการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ไม่มีการหยุดนิ่ง เนื่องจากมนุษย์มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาในแต่ละช่วงของชีวิต

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของบุคลิกภาพ


บุคลิกภาพ มาจากคำบาลี 2 คำ คือ บุคลิก กับ ภาวะ หรือ ภาพ เมื่อนำมาสมาสกันเป็น บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality แปลว่า ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน (มยุรี เจริญทรัพย์ และคณะ ,2550, หน้า 125)

บุคลิกภาพ (personality) คือ ลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกอย่างสม่ำเสมอจนเป็นเอกลักษณ์ประจำตน ที่สามารถแบ่งมองเห็นได้ เช่น เป็นมิตร ใจดี คุยสนุก มีรสนิยม เป็นต้น (ตุลา มหาพสุธานนท์ ,2547, หน้า 213)

บุคลิกภาพ (personality) คือ คุณลักษณะทั้งหลายที่รวมตัวกันเป็นตัวตนของบุคคล เช่น ลักษณะความต้องการแรงจูงใจ ลักษณะการปรับตน อารมณ์ความรู้สึกที่ถาวร การรับรู้เข้าใจตนเอง การแสดงพฤติกรรมในบทบาทต่าง ๆ เจตคติ ค่านิยม และความสามารถ ความเก่ง ความฉลาด ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ถ้าสิ่งใดเปลี่ยนแปลง การแสดงพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นก็อาจเปลี่ยนแปลงตาม (สมใจ ลักษณะ ,2549, หน้า 111)

บุคลิกภาพที่สมบูรณ์ คือ แนวทางที่บุคคลประพฤติ ต้องอาศัยสติปัญญา ความเชื่อถือ และศรัทธาต่อชีวิต ซึ่งจะทำให้ความต้องการต่าง ๆ ของบุคคลได้รับการตอบสนอง ทำให้เขาสมารถพัฒนาตนเองให้มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ มีความรักตนเอง รักธรรมชาติ และรักผู้อื่น (มุกดา ศรียงค์ ,2539, หน้า 18)

บุคลิกภาพ สามารถสรุปได้ว่า เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วย อารมณ์ สติปัญญา และการประพฤติตน เช่น ลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ที่แสดงออกมาทางกาย วาจา และใจ ไม่ว่าจะเป็น การปรับตัวในสังคม การเรียนรู้ อันเป็นการแสดงออกที่บ่งบอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ว่ามีการรับรู้หรือปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างไร

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

องค์การแห่งการเรียนรู้




สรุปสาระสำคัญ
องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง การเรียนรู้ของคนทั้งหลายที่เกิดขึ้นในองค์การ คนในองค์การสามารถขยายขอบเขตความสามารถ เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง สามารถแสดงออกทางความคิดได้อย่างอิสระ มีทักษะในการสร้างสรรค์ การได้มาซึ่งความรู้ การส่งผ่านความรู้ และการปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรมมนุษย์นั้น มักอาศัยวินัย ทฤษฎี เทคนิค และแนวทางพัฒนา ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยการกำหนดแนวทางการพัฒนา ด้านจิตวิญญาณ แนวคิด ข้อสรุปที่มีอิทธิพลต่อเราในการทำงาน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของตัวบุคคล ช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีกับองค์กร และพัฒนาตนเองด้วย (อิทธิกร เพ็งรอด.2551. องค์การแห่งการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2551,จาก http://www.kru-itth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=420827&Ntype=6)
วิเคราะห์ วิจารณ์
องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์การที่มีทักษะในการสร้างสรรค์ การแสดงออกทางความคิดได้อย่างอิสระ การปรับพฤติกรรมองค์การ เพื่อให้สะท้อนความรู้ใหม่ๆ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่ต้องการความเป็นผู้นำในมุมมองใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ เป็นเรื่องการพัฒนาตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาองค์การของ Peter M. Senge ที่กล่าวถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ทั้งในระดับผู้นำและสมาชิก ถือว่าบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญขององค์การแห่งการเรียนรู้ จะให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิตการทำงานของบุคคล ต้องมีวินัย และสามารถพัฒนาทักษะ หรือความสามารถของตนเองได้ ในชีวิตการทำงานเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ ที่มีคุณค่าต่อตนเองและต่อองค์กร เช่นเดียวกับ อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง(2542, หน้า63) ให้ไว้ว่าองค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยผู้ที่มีความมุ่งมั่นที่จะขยายขีดความสามารถของตน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ของคนในองค์กรและการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนาตนเอง จะต้องอาศัยแรงจูงใจจากตนเอง หากตัวบุคคลไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ต่างๆ เราจะต้องเป็นครูผู้สนับสนุนตนเอง เป็นผู้รับผิดชอบ กำหนดวิสัยทัศน์ด้วยจิตวิญญาณของตนเอง ต้องหมั่นฝึกฝนแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต หรือเป็นผู้เรียนรู้ตามอัธยาศัย หมั่นกระตุ้นความคิดตนเอง ตระหนักถึงชีวิตการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การที่เราไม่รู้ เราควรจะถามในสิ่งที่เราจะเรียนรู้ในด้านนั้นๆ ขณะเดียวกันเราต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างลึกๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามรถและศักยภาพของตนเอง ในการเรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำในมุมมองใหม่ๆต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระบบการประมวลผลข้อมูล


ระบบการประมวลผลข้อมูล มี 5 ระบบได้แก่
1. Batch processing system หมายถึงการประมวลผลแบบกุ่ม จะต้องจัดรวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้ว จึงรวบรวมจัดทำเป็นรายงาน หรือสรุปผล ตัวอย่างเช่น ระบบจ่ายเงินเดือนของพนักงาน ระบบการจัดทำใบเสร็จ เป็นต้น
2. On-line Processing System(ระบบการประมวลผลแบบเชื่อมโยง) หมายถึง การประมวลผลที่ทำโดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่อง หรืออุปกรณ์นั้นจะอยู่ห่างออกไปแต่สามารถติดต่อโดยตรงกับเครื่องได้ การประมวลผลด้วยระบบนี้ข้อมูลที่ได้รับเข้ามาเมื่อประมวลผลการจองตั๋วเครื่องบิน
3. Time Sharing Processing (การประมวลผลแบบการแบ่งเวลา)หมายถึง ระบบการประมวลผล ที่ผู้ใช้สามารถติดต่อได้โดยตรงกับหน่วยประมวลผลกลาง (EPU) ของคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางแป้นพิมพ์ของเครื่องเทอร์มินัล และหน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการแบ่งเวลาประมวลผลงานให้กับหลาย ๆ เทอร์มินัลพร้อม ๆ กัน
4. Real Time Processing (การประมวลผลแบบทันที)เป็นวิธีการประมวลผลที่มีการส่งข้อมูลเข้าไป และส่งผลลัพธ์ออกมาทันที
5. Multiprogramming(การประมวลผลแบบหลายโปรแกรม)เป็นการประมวลผลโดยแบ่งหน่วยความจำออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า Partitionเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกัน
จะเห็นได้ว่าการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูล ได้มีการนำหลักความรู้เหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวัน เห็นได้จากการทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ ATM ที่ทุกคนใช้กันอย่างแพร่หลาย ก้เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่นำหลักความรู้ของการประมวลผลข้อมูลเข้ามาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ และสังคมได้เป็นอย่างดี

การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) หมายถึง การจัดกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. Input Data ได้แก่

-Data collecting เช่น เครื่องนับผู้เข้าสนามบินสุวรรณภู
-Classifying เช่น การจำแนกนักเรียนโรงเรียน OBAC ตามสาขาวิชา
2. Data Processing ได้แก่
-Sorting การเรียงลำดับข้อมูล
-controlling การควบคุม
-Storage การเก็บข้อมูล
3. Output ได้แก่

-Reporting การพิมพ์รายงาน
-Communication การติดต่อสื่อสาร
วิธีการประมวลผลแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่
1. การประมวลผลด้วยมือ
2. การประมวลผลเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจัยที่จะตัดสินใจในการนำคอมพิวเตอร์มาประมวลผล มีอะไรบ้าง

1. ปริมาณงานมาก
2. ต้องการผลที่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
3. ลักษณะของงานต้องทำซ้ำ ๆ กัน
4. งานที่ใช้ในการคำนวณที่ซ้ำซ้อน
5. ค่าใช้จ่าย
ประเภทของงานประมวลผลข้อมูล
ด้านการคำนวณ
1. การทำบัญชี
2. การตลาด
3. การผลิต
4. การธนาคารและสถาบันการเงิน
ด้านสถิติ
1. การสำรวจประชากร
2. การทำสถิติคนไข้ในโรงพยาบาล
3. งานอุตุนิยม
ด้านทะเบียน
1. การทำทะเบียนรถยนต์
2. การทำทะเบียนนักศึกษา
3. การทำทะเบียนคนไข้
ด้านอื่นๆ ได้แก่
1. งานสำนักงาน
2. งานสำรวจอวกาศ
3. งานเดินเรือ

เทคโนโลยีสำนักงาน

งานของสำนักงานเป็นงานที่เกี่ยวกับเอกสารในรูปแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การจัดทำ การจัดเก็บ การนำกลับมาใช้ การทำลายทิ้ง การลดเวลาที่ต้องเสียไปกับการจัดการเรื่องเอกสาร เมื่อเราก้าวเข้าไปในสำนักงาน นอกจากโต๊ะทำงาน เก้าอี้ ตู้เก็บเอกสารแล้ว อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่เราเห็นคุ้นตา คือ คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่เข้ามามีบทบาทในการให้ข้อมูล หรือสารสนเทศ ช่วยทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
ลักษณะงานสำนักงาน
1. เป็นงานบริการ หมายถึง งานที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงาน ให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
2. เป็นงานเอกสาร หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการผลิตเอกสาร เก็บรักษาภายในหน่วยงาน
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
หมายถึง สำนักงานที่มีการจัดระบบการทำงาน และวิธีการที่ประกอบด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ซึ่งใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นพื้นฐาน
คุณสมบัติของระบบสำนักงานอัตโนมัติ
1. บันทึกข้อมูลได้หลายรูปแบบ
2. ค้นหาข้อมูลได้สะดวก
3. เป็นระบบที่ง่าย และเกี่ยวข้องกับทุกระดับ
หน้าที่ของงานสำนักงาน
1. บริการและควบคุมในการติดต่อสื่อสาร
2. จัดระบบวิธีปฏิบัติงาน และร่วมมือประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น
3. รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆในส่วนที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบของงานสำนักงาน มี 3 แบบ
1. รูปแบบรวมอำนาจ (Centralization)เป็นการทำงานที่ขึ้นตรงกับผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
2. รูปแบบสำนักงานแบบกระจายอำนาจ (Decentralization)เป็นการลดหลั่นอำนาจตามระดับขั้นลงไป โดยมีหัวหน้าหน่วย แต่ละหน่วยรับผิดชอบดูแล
3. รูปแบบสำนักงานแบบบูรณาการ (Integration)เป็นการผสมผสานระหว่างการรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจ โดยแต่
ละหน่วยงานจะจัดให้หัวหน้างานปกครองดูแล สั่งการในส่วนที่รับผิดชอบและให้ขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปตามลำดับ และมีการติดตามประเมินผลตลอดเวลา